ไทยเจอภาวะร้อนจัด นักวิชาการชี้ อนาคตอาจมี “พักเที่ยง 2 ชม”

กรมอุตุนิยมวิทยาต้องบันทึกประวัติศาสตร์หน้าใหม่ หลังจากอุณหภูมิของ “แม่ฮ่องสอน” เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2559 ทำลายสถิติจังหวัดร้อนที่สุดในประเทศไทยรอบ 65 ปีที่ผ่านมา…ถือเป็นหลักฐานชิ้นสำคัญยืนยันถึงผลกระทบภาวะโลกร้อนอย่างเป็น รูปธรรม!?!

wp-1462851466949

“แม่ฮ่องสอนถูกบันทึกว่าทำลายสถิติอุณหภูมิสูงสุดในไทยที่ 44.6 องศาฯ เนื่องจากเป็นพื้นที่หุบเขามีภูเขาสูงล้อมรอบ แต่เดือนเมษายนปีนี้กรุงเทพฯ ไม่ร้อนเท่าไร เฉลี่ยเพียง 39 องศาฯเท่านั้น หลังจากนี้ไปช่วงเดือนพฤษภาคมจะเริ่มมีฝนในบางพื้นที่ โดยเฉพาะอีสานและภาคกลางตอนล่างกับภาคใต้อากาศไม่ร้อนนัก ยกเว้นภาคกลางตอนบนกับภาคเหนือยังมีอากาศร้อนจนถึงกลางเดือนพฤษภาคม ปีนี้สังเกตได้ว่า พายุฤดูร้อนค่อนข้างรุนแรง มีลูกเห็บตกในหลายพื้นที่ เพราะเมื่ออากาศร้อนจัดสะสมมานาน พายุเข้ามาเกิดการปะทะของอุณหภูมิที่แตกต่างเป็นฝนฟ้าคะนอง”

“ดูจากแผนที่แบบจำลองเห็นชัดว่า อุณหภูมิเฉลี่ยปี 2558 มีช่วงที่เป็นสีแดงอยู่บริเวณภาคกลาง ผ่านไป 20 ปี พ.ศ.2578 สีแดงเพิ่มขึ้นในภาคเหนือตอนล่าง และถ้าไม่มีปัจจัยอะไรเปลี่ยนแปลง อีก 40 ปี หรือ 2598 อุณหภูมิเฉลี่ยจะเป็นสีแดง คือสูงเกิด 28.7 องศาฯ เกือบทุกภาคในประเทศไทย เราคาดไว้ว่าน่าจะ 2 องศาฯ แต่ถ้าเลวร้ายสุดก็จะสูงถึง 4 องศาฯ โดยเฉพาะแถบ จ.บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ ปราจีนบุรี มีแนวโน้มจะร้อนมากกว่าพื้นที่อื่น หากเป็นแบบนั้นจริงสภาพแวดล้อมและมนุษย์จะได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง”

หลายคนสงสัยว่า อากาศเพิ่มหรือลดเพียงแค่ 2 องศาฯ ทำไมส่งผลให้มีการเปลี่ยนแปลงกับสิ่งแวดล้อมมากมาย?

“สังเกตง่ายๆ ว่า ปีก่อนๆ เวลาอาบน้ำตอนกลางวัน น้ำจากฝักบัวช่วงแรกจะร้อนหรืออุ่นสักพัก หากอาบน้ำช่วงเย็นจะไม่มีน้ำอุ่นออกมา ปีนี้แม้อาบน้ำช่วงเย็นหลังเลิกงานก็รู้สึกได้ในหลายจังหวัดว่า น้ำจากฝักบัวยังอุ่นหรือร้อน นั่นคือความร้อนที่สะสมในสภาพแวดล้อมมากกว่าเดิม ยิ่งร้อนมากก็ยิ่งใช้เวลาในการคลายความร้อนมากขึ้น”

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศในหลายด้าน เช่น การจัดการน้ำ การท่องเที่ยว การเกษตร ความมั่นคงทางอาหาร สาธารณสุข การตั้งถิ่นฐาน ระบบนิเวศ โดยเฉพาะในด้านที่จะได้รับผลกระทบอย่างแน่นอน 3 ด้าน ได้แก่

wp-1462851389392

“วิกฤติน้ำกินน้ำใช้” อุณหภูมิสูงขึ้นทำให้น้ำที่มีอยู่ในธรรมชาติน้อยลง หลายพื้นที่จะขาดแคลนน้ำในธรรมชาติอย่างที่ไม่เคยพบมาก่อน ต้องมีการจัดสรรทรัพยากรน้ำในรูปแบบใหม่ “2 ความมั่นคงทางอาหาร” พันธุ์พืชหลายชนิดไม่สามารถปลูกได้อีกต่อไป แม้แต่ข้าวบางสายพันธุ์ที่ต้องใช้น้ำมากก็จะปลูกไม่ได้ ผักที่ไม่ชอบอากาศร้อนจัดก็มีหลายชนิด แม้แต่การเลี้ยงปศุสัตว์อาจต้องเปลี่ยนลักษณะของฟาร์มหมู เล้าไก่ ฯลฯ ให้รองรับภาวะอากาศร้อน

 “ สุขภาพของมนุษย์” เมื่อร้อนจัดความชื้นในอากาศน้อยลง ผู้สูงอายุหรือผู้ที่ร่างกายอ่อนแอจะรู้สึกไม่สบายได้ง่าย โรคเกี่ยวกับแดดหรืออากาศร้อนจะมีมากขึ้น ประเมินกันว่า ถ้าสถานการณ์แย่สุด ร้อนขึ้นถึง 4 องศาฯ หมายความว่าตารางชีวิตประจำวันของคนไทยอาจต้องเปลี่ยนไป เช่น ช่วงพักกลางวันต้องยาวขึ้น อากาศแต่ละวันร้อนสุดประมาณ เที่ยงถึงบ่าย 2 หมายความว่าอาจต้องเพิ่มเวลาพักเที่ยงเป็น 2 ชั่วโมง เพื่อไม่ให้ต้องทำงานใต้แดดแรงจัด หรือด้านธุรกิจท่องเที่ยว  จากเดิมร้านค้า พิพิธภัณฑ์ วัดวาอารามปกติเปิดให้นักท่องเที่ยงเข้าชมตั้งแต่เช้าถึง 5-6 โมงเย็น อาจต้องปรับเวลาเป็นเปิดช่วงบ่ายถึงกลางคืนแทน เพราะกลางวันนักท่องเที่ยวจะไม่ออกมาข้างนอก”

เพราะฉะนั้น คนไทยต้องลดการใช้พลังงานไม่สะอาด เช่น ลดการเชื้อเพลิงในการเดินทาง ลดการเผาไหม้ในพื้นที่ทำเกษตรกรรม และเพิ่มการปลูกป่ารวมถึงการใช้พลังงานสะอาดแทนพลังงานถ่านหิน

หากคนไทยไม่ร่วมมือกันทำวันนี้ อีก 40 ปีข้างหน้าพวกเราอาจได้เปลี่ยนเวลาทำงานจากกลางวันเป็นกลางคืน !

ที่มา komchadluek

อุตุฯ เตือน !! ฉ.1 “พายุฤดูร้อนไทยตอนบน” 28 -30 เม.ย.นี้! เตรียมรับมือ ฝนถล่ม-ลูกเห็บ

payuu

อุตุฯ เตือนแล้ว !! ประกาศ ฉ.1 “พายุฤดูร้อนไทยตอนบน” 28 -30 เม.ย.นี้! เตรียมรับมือ ฝนถล่ม-ลูกเห็บกระหน่ำหลายพื้นที่ !!

ในช่วงวันที่ 28 – 30 เมษายน 2559 บริเวณด้านตะวันออกของภาคเหนือ, ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, ภาคตะวันออก และภาคกลาง จะมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น มีลักษณะฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรงและมีลูกเห็บตกบางพื้นที่ โดยจะเริ่มจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือก่อน ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าว ระมัดระวังอันตรายจากพายุลมแรงที่จะเกิดขึ้น รวมถึงอยู่ห่างจากต้นไม้ใหญ่ ป้ายโฆษณา และสิ่งก่อสร้างที่ไม่แข็งแรง

ทั้งนี้ เนื่องจากความแตกต่างของมวลอากาศ โดยในช่วงวันที่ 28 – 30 เมษายน 2559 ความกดอากาศสูงจากประเทศจีน ซึ่งเป็นอากาศเย็นจะแผ่ลงมาปกคลุมภาคเหนือด้านตะวันออก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคกลาง โดยบริเวณดังกล่าวมีอากาศร้อนถึงร้อนจัดหลายพื้นที่อยู่ก่อนแล้ว

ฉ.4 มาแล้ว!! อุตุเตือน 19 จว. “พายุฤดูร้อน” 19-21 เม.ย. นี้

payuu

กรมอุตุนิยมวิทยาประกาศแจ้งเตือน เรื่องพายุฤดูร้อนบริเวณประเทศไทยตอนบน ฉบับที่ 4 ใจความว่า ในช่วงวันที่ 19-21 เมษายน 2559 บริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคกลาง จะมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และมีลูกเห็บตกบางพื้นที่ ขอให้ประชาชนในบริเวณจังหวัดพิษณุโลก พิจิตร อุตรดิตถ์ เพชรบูรณ์ อำนาจเจริญ อุบลราชธานี ยโสธร ร้อยเอ็ด ศรีสะเกษ สุรินทร์ นครราชสีมา ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา จันทบุรี ตราด นครสวรรค์ ลพบุรี และสระบุรี ระมัดระวังอันตรายจากพายุลมแรงที่จะเกิดขึ้น รวมถึงอยู่ห่างจากต้นไม้ใหญ่ ป้ายโฆษณา และสิ่งก่อสร้างที่ไม่แข็งแรง

ทั้งนี้เนื่องจาก ความแตกต่างของมวลอากาศ โดยในช่วงวันที่ 19-21 เมษายน 2559 ความกดอากาศสูงจากประเทศจีน ซึ่งเป็นอากาศเย็นได้แผ่ลงมาปกคลุมภาคเหนือด้านตะวันออก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ภาคตะวันออก และภาคกลาง ซึ่งในบริเวณดังกล่าวนี้มีอากาศร้อนโดยทั่วไป และมีอากาศร้อนจัดหลายพื้นที่อยู่ก่อนแล้ว

ที่มา กรมอุตุฯ

อุตุเตือน ฉ.2 !! จับตาอีสาน เพิ่มอีก 5 จังหวัด “พายุฤดูร้อน” จ่อถล่ม

กรมอุตุนิยมวิทยาประกาศแจ้งเตือน เรื่องพายุฤดูร้อนบริเวณประเทศไทยตอนบน ฉบับที่ 2 ใจความว่า ในช่วงวันที่ 18-21 เมษายน 2559 บริเวณด้านตะวันออกของภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคกลาง จะมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และมีลูกเห็บตกบางพื้นที่ โดยเริ่มจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือก่อน ขอให้ประชาชนในบริเวณจังหวัดเชียงราย พะเยา น่าน อุตรดิตถ์ เพชรบูรณ์ เลย หนองบัวลำภู อุดรธานี ขอนแก่น หนองคาย บึงกาฬ สกลนคร นครพนม มุกดาหาร อำนาจเจริญ อุบลราชธานี ยโสธร ร้อยเอ็ด ศรีสะเกษ สุรินทร์ นครราชสีมา ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา จันทบุรี ตราด ชัยนาท นครสวรรค์ ลพบุรี และสระบุรี ระมัดระวังจากพายุลมแรงที่จะเกิดขึ้น รวมถึงอยู่ห่างจากต้นไม้ใหญ่ ป้ายโฆษณา และสิ่งก่อสร้างที่ไม่แข็งแรง

payuu

ทั้งนี้เนื่องจาก ความแตกต่างของมวลอากาศ โดยในช่วงวันที่ 18-21 เมษายน 2559 ความกดอากาศสูงจากประเทศจีน ซึ่งเป็นอากาศเย็นจะแผ่ลงมาปกคลุมภาคเหนือด้านตะวันออก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคกลาง ซึ่งในบริเวณดังกล่าวนี้มีอากาศร้อนโดยทั่วไป และมีอากาศร้อนจัดหลายพื้นที่อยู่ก่อนแล้ว